[หนังสือ Top Job Secret ภาค 2] กุญแจดอกที่ 2 “ปริญญาคือคำตอบ ? ไฟแช็คไฟฉาย” ตอน ไฟแช็ค
- อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน)
- 18 ก.ค. 2565
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 27 ม.ค.

เปิดประตู สู่ความเป็นมืออาชีพ กุญแจดอกที่ 2 “ปริญญาคือคำตอบ ? ไฟแช็คไฟฉาย” ตอน ไฟแช็ค
Professional Qualification คือ คุณวุฒิเฉพาะทางในสายอาชีพ ยกตัวอย่างง่ายๆ เลย เช่น วิชาชีพแพทย์ จะต้องมีใบประกอบโรคศิลป์ หรือแม้แต่ทนายความ ก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
แต่สิ่งที่กำลังจะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ Professional Qualification นั้นมีแนวโน้มว่าจะมีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ ซึ่งปกติแล้วการที่จะได้มาซึ่ง Professional Qualification นั้น ก็จะต้องผ่านการสอบแบบที่ต้องสอบคล้ายๆ เอนทรานซ์ แต่เป็นเอนทรานซ์ระดับนานาชาติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปเข้าเรียนหรือเช็คชื่อใดๆ ทั้งนั้น
พอถึงเวลาสอบก็แค่เดินตัวเปล่ากับหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจไปตอบข้อสอบให้ถูกเท่านั้น ถ้าผ่านเกณฑ์ (โดยปกติจะอิงกลุ่มด้วย) ก็จะผ่านแล้วเป็นที่ยอมรับในสายวิชาชีพนั้นๆ
อาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (แอคชัวรี) ก็เป็นหนึ่งในสายอาชีพที่ให้ความสำคัญกับ Professional Qualification เป็นหลักเช่นกัน
ถ้ามีคนมาสมัครงานสองคน โดยทั้งสองคนมีบุคลิกและหน่วยก้านดีทั้งคู่ (หน้าตาไม่นับ)
คนหนึ่งมี Academic Qualification สูงกว่าซึ่งจบโทมา (แต่ไม่มี Professional Qualification)
ส่วนอีกคนจบแค่ปริญญาตรี แต่มี Professional Qualification บางส่วน (สอบผ่านบางขั้น)
คนหลังจะได้เปรียบกว่าคนแรก (ยกเว้นคนแรกจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาสามารถสอบเอา Professional Qualification ได้ในภายหลังเช่นกัน) เพราะในสมัยนี้แล้วนั้นมีคนเป็นจำนวนมากที่มี Academic Qualification (เช่นได้ปริญญาโทหรือเอก) แต่ก็ไม่สามารถสอบเอา Professional Qualification ได้
การสอบ Professional Qualification นั้นก็เป็นสิ่งที่บริษัทหรือนายจ้างต้องการได้มาเพื่อเอามาใช้งานได้จริง ๆ รวมทั้งมีเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล
ในต่างประเทศนั้น วุฒิปริญญาโทไม่ได้เอามาเป็นตัวแปรสำคัญหรือตัวชี้วัดในการตัดสินใจสำหรับองค์กร แต่ปกติแล้วทางองค์กรจะดูที่ประสบการณ์การทำงานกับ Professional Qualification ของตัวผู้สมัครมากกว่า
ถ้าตำแหน่งนั้น รับคนที่ประสบการณ์การทำงานไม่มาก องค์กรก็มีแนวโน้มที่จะเลือกรับเอาคนที่อายุน้อยกว่า เพราะถือว่าน่าจะมีไฟในการเรียนรู้ที่แรงกว่า รวมถึงเปิดใจในการไขว่คว้า Professional Qualification มากกว่า
ดังนั้น ในต่างประเทศ (โดยเฉพาะฮ่องกง) จะมองว่าคนที่จบปริญญาตรีและเริ่มต้นสายอาชีพโดยการทำงานหาประสบการณ์ไปด้วย ไขว่คว้า Professional Qualification ไปด้วย ถือเป็นบุคลากรที่น่ายกย่องและได้เปรียบในเส้นทางสายอาชีพทีเดียว
ต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบคนที่ได้เริ่มต้นเร็วกว่าคนอื่น เก็บประสบการณ์มากกว่าคนอื่น และได้สร้างผลงานมากกว่าคนอื่น กับ คนที่ต้องใช้เวลาในการเพิ่มพูนความรู้อยู่ในโลกวิชาการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ปริญญา Academic Qualification
ค่านิยมของคนต่างประเทศจึงมุ่งเน้นส่งเสริมให้บุคลากรหันไปพัฒนาความสามารถของตนเองจาก Professional Qualification กันมากขึ้น

เนื้อหานี้มาจากหนังสือเรื่อง “The Top Job Secret ภาค 2 เปิดประตู สู่ความเป็นมืออาชีพ” เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้และแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับสายอาชีพ “แอคชัวรี” ที่ถูกบรรจงเขียนผ่านการถ่ายทอด ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยชื่อดัง “อาจารย์ทอมมี่ เจียรมณีทวีสิน” หรือที่รู้จักกันในนาม “ทอมมี่ แอคชัวรี” หากสนใจอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดและสั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่
เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)
FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น
Comments